การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ตัวแทนประเทศสมาชิกในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้แสดงความคิดเห็น
การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ตัวแทนประเทศสมาชิกใน
กลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้แสดงความคิดเห็น
ถึงประเด็นที่เกี่ยวกับทักษะทางสังคม (Soft Skills)
สดช. จัดประชุมกับผู้แทนจากประเทศอาเซียน เพื่อพัฒนามาตรฐานทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับยุคดิจิทัล
วันนี้ (๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖) ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ตัวแทนประเทศสมาชิกในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นทักษะทางสังคม “ASEAN Workshop on Crucial Soft Skills for the Digital Transformation” โดยมีนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงาน ณ ห้องพระศิวะ โรงแรมอัศวิน แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จัดขึ้นการประชุมดังกล่าวขึ้น ตามที่ที่ประชุม ASEAN DIGITAL SENIOR OFFICIALS’ MEETING (1ST ADGSOM) เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ ได้มีมติอนุมัติและเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ “Study on Crucial Soft Skills Required in Digital Transformation”
โดยโครงการฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มของทักษะทางสังคม (Soft Skills) ในระดับโลก เช่นเดียวกับแนวโน้มภายในประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพื่อรวบรวมมาตรฐานทักษะทางสังคมที่ปรากฎในปัจจุบันทั้งในส่วนภาครัฐและภาคเอกชน โดยโครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายในการกำหนดทักษะทางสังคม (Soft Skills) จำนวน ๕ ทักษะที่สำคัญต่อการทำงานในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งในจะมีการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อทักษะทางสังคม (Soft Skills) ที่ได้จัดทำขึ้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล ระหว่างผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน รองรับการพัฒนาและเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ และภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนแสดงข้อคิดเห็น เกี่ยวกับแนวทางการใช้งานมาตรฐานทักษะวิชาชีพไอซีที และการพัฒนากำลังคนด้านไอซีที
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills) ไม่ว่าจะเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติ (Automation) หรือทักษะปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลายเป็นทักษะที่สำคัญต่อการทำงาน อย่างไรก็ตามทักษะทางสังคม (Soft Skills) ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อาทิเช่น ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะความเป็นผู้นำ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการปรับตัว ทักษะเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทักษะสำคัญที่ต้องมีควบคู่ไปกับทักษะทางวิชาชีพอื่น ๆ เพื่อให้การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาและมาตรฐานทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล
นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สดช. ได้เป็นกำลังหลักในการจัดทำมาตรฐานทักษะวิชาชีพไอซีที จำนวน ๑๑ วิชาชีพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว โดยมาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมทักษะ ICT ต่างๆ เช่น การพัฒนาซอฟท์แวร์ (Software Development) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) เป็นต้น โดยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เป็นมาตรฐานล่าสุด ทั้งนี้ สดช. เล็งเห็นว่าทักษะทางสังคม (Soft Skills) เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับแรงงานในยุคดิจิทัล จึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล พร้อมทบทวนมาตรฐานทักษะวิชาชีพไอซีทีที่ สดช. ได้จัดทำเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันและสอดรับกับทักษะทางสังคม การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะทางสังคมที่จำเป็นระหว่างผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น