อว. หนุนบรรเลงเพลงแห่งอันดามัน ถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านแดนใต้ผ่านวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า

 อว. หนุนบรรเลงเพลงแห่งอันดามัน ถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านแดนใต้ผ่านวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

หนุนมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข บรรเลงบทเพลงแห่งอันดามัน ถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้านของภาคใต้ผ่านการแสดงของวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า อาทิ เพลงลาฆูดัว เพลงศรีนวล เพลงปาหรี่หาดยาว-ปาหรี่สตูล ผลงานต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ พร้อมการแสดงภาพจิตรกรรมประกอบเพลงโดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ และมูลนิธิกระบี่ยั่งยืน สนับสนุนการจัดแสดง “เพลงแห่งทะเลอันดามัน ที่ร้านเรือนไม้ จังหวัดกระบี่ หน้าวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า” อำนวยการโดย

รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ร้านเรือนไม้ จังหวัดกระบี่ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

เป็นประธานเปิดงาน

การแสดงดังกล่าวบรรเลงดนตรีโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) ควบคุมวงโดย ดร.ธีรนัย จิระสิริกุล ซึ่งได้แสดงบรรเลงเพลงลาฆูดัว เพลงศรีนวล เพลงอานะอิกัน เพลงปาหรี่หาดยาว-ปาหรี่สตูล เพลงปาหรี่ภูเก็ต เพลงเซียปาอิตู เพลงจำเปียน – ติหมังบุหรง เพลงเลฮังกังกง – ต๋อยอีแลต เพลงสร้อยกำ และมีเพลงแถมคือเพลงนกสีเหลือง ขับร้องโดย นางสาวกมลพร หุ่นเจริญ และเพลงบูบู ขับร้องโดย นายพลธรายุทธ 

ทิพยุทธ และระหว่างการบรรเลงเพลง ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ได้สร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง 

กิจกรรมบรรเลงเพลงพื้นบ้านที่จังหวัดกระบี่โดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้านี้ เป็นผลงานการวิจัยใน “โครงการวิจัยพื้นที่ ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน” และ “โครงการขยายผลต่อยอดวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ” ที่ วช. ได้สนับสนุน “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ซึ่งดำเนินการโดย 

รองศาสตราจารย์.ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชน

ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอ

ในรูปแบบใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป โดยก่อนหน้านี้ได้มีการแสดงบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจะมีการแสดงเพลงพื้นบ้านของภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป

โอกาสนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย  พันตำรวจโท หม่อมหลวง กิติบดี ประวิตรผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจัดแสดงให้เข้าชมในจำนวนที่นั่งตามข้อกำหนดการป้องกันโควิด-19 

ของ จังหวัดกระบี่ และการแสดงครั้งนี้ใช้วิธีถ่ายทำโดยบันทึกภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์และสื่อโทรทัศน์

..



















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“แฟคทอรี่ ยาร์ด กรุ๊ป” สยายปีก เปิดสาขาใหม่ที่ลำลูกกา

..นายกสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทย ร้องสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มชายฉกรรจ์เข้ามาคุกคามถึงหน้าสมาคมฯ

กสทช.-กตป.ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน...