พาณิชย์’ เร่งผลักดันผ้าไหมไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ...สร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน
พาณิชย์’ เร่งผลักดันผ้าไหมไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ...สร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน
กระทรวงพาณิชย์ เชื่อมั่นในศักยภาพผ้าไหมไทย เร่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ จัดกิจกรรม “เส้นทางสายไหม...สู่เมืองรอง” นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ผลิตผ้าไหมในเมืองรองบอกต่อถึงคุณค่าของผ้าไหมไทยสู่สาธารณชน พร้อมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเข้ากับวัฒนธรรมการทอผ้าไหมของแต่ละพื้นถิ่น ...มุ่งสร้างแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อันนำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยครั้งนี้ มุ่งหน้า จ.สุพรรณบุรีและชัยนาท
นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเมืองรอง ภายใต้โครงการ “ยกระดับการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่แหล่งท่องเที่ยว” โดยให้ผ้าไหมเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ/กระตุ้นให้เกิดการบริโภค/ซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สินค้า และบริการต่างๆ ในจังหวัดเมืองรองให้มากขึ้น อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจแก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจใช้ผ้าไหมไทย และยกระดับผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาดขนานไปตามเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการผลิต เทคนิคเฉพาะ และอัตลักษณ์ผ้าไหมของแต่ละชุมชนรวมทั้งส่งเสริมลูกหลานในชุมชนแหล่งผลิตหันมาสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตผ้าไหมไทยมากขึ้น”
“กิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 มกราคม 2563 โดยนำคณะสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ร่วมเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรีและชัยนาท สัมผัสความสวยงามและวัฒนธรรมการทอผ้าไหมที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยให้สื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ฯ เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดความประทับใจที่ได้สัมผัส กลับมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับสาธารณชนคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไหมไทย อันจะนำมาซึ่งการตัดสินใจเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมทั้ง สนับสนุนแนวความคิดของผู้ประกอบการที่ได้นำผ้าไหมพื้นถิ่นมาประยุกต์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งจะเป็นช่วยให้ผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยมีความเข้มแข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น”
“สำหรับเส้นทางสายไหมสู่เมืองรองจังหวัดสุพรรณบุรี ที่แรกแวะไปเรียนรู้วิธีการทำผ้าไหมด้นมือที่ กลุ่มหัตถกรรมผ้าด้นมืออู่ทอง ต.กระจัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือที่แปรรูปจากผ้าไหมและผ้าฝ้ายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของใช้และของตกแต่งบ้าน เช่น หมอนผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ฯลฯ ติดต่อ คุณวรศักดิ์ ฟ้าร่วน 08 1804 1935 / 08 1716 1488 Line ID 0818041935 face book U-Thong Quilts
“กิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 มกราคม 2563 โดยนำคณะสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ร่วมเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรีและชัยนาท สัมผัสความสวยงามและวัฒนธรรมการทอผ้าไหมที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยให้สื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ฯ เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดความประทับใจที่ได้สัมผัส กลับมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับสาธารณชนคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไหมไทย อันจะนำมาซึ่งการตัดสินใจเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมทั้ง สนับสนุนแนวความคิดของผู้ประกอบการที่ได้นำผ้าไหมพื้นถิ่นมาประยุกต์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งจะเป็นช่วยให้ผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยมีความเข้มแข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น”
จากนั้นมาสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติของท้องทุ่งนา ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้) อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี สถานที่ท่องเที่ยวเชิงการเกษตรที่ได้รวบรวมการทำนาและวิถีชีวิตชาวนา หอเตือนภัยชาวนา แปลงนาสาธิตลักษณะพันธุ์ข้าวนาปรัง 12 ชนิดพันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบันของ 4 ช่วงอายุข้าว เรือนศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ เรือนพระแม่โพสพ และเรือนวิถีชาวนาไทยในอดีต
ช่วงเย็นแวะชมความอัศจรรย์ของ พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ หรือ หลวงพ่ออู่ทอง อันซีนสุพรรณบุรี ประติมากรรมพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นจากการแกะสลักหน้าผาหินในเขตอำเภออู่ทอง”
“วันที่ 2 เริ่มต้น...สัมผัสผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอ (หางกระรอก) ของ กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งแสม ต.หนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ชมการผลิตผ้าไหม ซึ่งใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน เริ่มจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม และการทอ เพื่อเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน และได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่กลายเป็นอาชีพหลักของชุมชนยาวนานกว่า 40 ปี มีลวดลายที่งดงามทั้งลวดลายโบราณดั้งเดิม และที่นำมาประยุกต์ใหม่โดยมีลูกหลานในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์จากนั้นแวะเยือน
ติดต่อ คุณบุณช่วย กรอบไธสง 08 7067 2297
สรรพยา (สับ-พะ-ยา) อำเภอเล็กๆ ที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาในจ.ชัยนาท สัมผัสวิถีชุมชนเก่าแก่อันน่าหลงใหล เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศแบบคลาสสิค และชมผลิตภัณฑ์ผักตบชวาบ้านอ้อย ปิดท้ายไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ วัดมหาธาตุ
วัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ มีโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระปรางค์กลีบมะเฟืองสร้างด้วยอิฐถือปูน 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลื่ยม เป็นศิลปะสมัยลพบุรี นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูป 2 แบบ ทั้งศิลปะแบบลพบุรีและแบบอยุธยาตอนต้น และยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเก็บรักษาสิ่งของโบราณด้วย”
“เส้นทางสายไหมสู่เมืองรองจังหวัดชัยนาท เต็มอิ่มกับการสัมผัสแหล่งผ้าไหมของดีจังหวัดชัยนาทที่ อ.เนินขาม ถึง 9 กลุ่มอย่างใกล้ชิด ทั้งกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ได้แก่ 1) ชมผ้าไหมยกดอกลายช่อใบมะขามกับดอกแก้วจกลายโบราณของ กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านเนินขาม หมู่ที่ 1 บ้านเนินขาม 2) ชมผ้าไหมผ้าซิ่นตีนจกยกดอกของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าโบราณบ้านทุ่ง หมู่ 9 3) ชมผ้าไหมตีนจกยกดอกของ บ้านทุ่งรังกระโดน 4) ชมผ้าไหมลายโบราณบ้านวังคอไหของ กลุ่มทอผ้าไหมลายโบราณ 5) ชมผ้าซิ่นตีนจกจาก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรม่วงงามไหมไทย 6) ชมเสื้อจุบหม้อของ กลุ่มเย็บเสื้อผ้าจุบหม้อบ้านโศกลึก ต.กะบกเตี้ย 7) ชมผ้าไหมมัดหมี่ลายหางกระรอกลายโบราณของ กลุ่มทอผ้าแม่บ้านเกษตรกร หมู่ 2 8) ชมผ้าซิ่นตีนจกลายช่อใบมะขามของ กลุ่มเนินขามผ้าไทย และ 9) ชมผ้าไหมมัดหมี่ของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า หมู่ 8 บ้านเนินขาม
ติดต่อ อุษา บุญสาพิพัฒน์ 08 1036 4722 Line ID 0810364722 facebook กลุ่มทอผ้าโบราณหมู่ที่1 บ้านเนินขาม
ก่อนจบทริปแวะชม บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จ.สุพรรณบุรี บึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีทั้งโซนสวนสัตว์และโซนสัตว์น้ำ แสดงสัตว์น้ำหลากสายพันธุ์ สวรรค์แห่งโลกใต้ทะเล”
ติดต่อ อุษา บุญสาพิพัฒน์ 08 1036 4722 Line ID 0810364722 facebook กลุ่มทอผ้าโบราณหมู่ที่1 บ้านเนินขาม
ก่อนจบทริปแวะชม บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จ.สุพรรณบุรี บึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีทั้งโซนสวนสัตว์และโซนสัตว์น้ำ แสดงสัตว์น้ำหลากสายพันธุ์ สวรรค์แห่งโลกใต้ทะเล”
“ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า ประเทศที่ผลิตเส้นไหมมากที่สุดในโลก ได้แก่ อันดับ 1 จีน อันดับ 2 อินเดีย อันดับ 3 อุสเบกีสถาน อันดับ 4 ไทย อันดับ 5 บราซิล ซึ่งปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรม โดยลดบทบาทภาคการเกษตรลง รวมทั้งสินค้าด้านหม่อนไหม ซึ่งสามารถเป็นดัชนีบ่งชี้ปริมาณการผลิตเส้นไหมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก ดังนั้น หากประเทศไทยมีการส่งเสริมและพัฒนาด้านหม่อนไหมอย่างเต็มที่ ลดต้นทุนการผลิต การสร้างคุณลักษณะพิเศษที่ทำให้เกิดความแตกต่าง และคงอัตลักษณ์ในการเป็นไหมไทยโดยแท้ที่เป็นเส้นไหมที่สาวด้วยมือ ก็จะทำให้ไหมไทยสามารถเจาะตลาดตลาดต่างประเทศได้ไม่ยากโดยเฉพาะตลาดอาเซียน” รองอธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น